ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่าย Cutting tools

ไทยเนื้อหอม! เลขา BOI ชี้วงลงทุน PCB ทะลุ 2 แสนล้าน “ยืนหนึ่งอาเซียน” จ่อพัฒนาคน-กระจายผลิตทั่วภูมิภาค

ไทยเนื้อหอม! เลขา BOI ชี้วงลงทุน PCB ทะลุ 2 แสนล้าน “ยืนหนึ่งอาเซียน” จ่อพัฒนาคน-กระจายผลิตทั่วภูมิภาค

เมื่อวันที่ 17 กันยายน เครือมติชน ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.อว.) จัดงาน “ปลุกไทยฝ่าวิกฤต ปั้น PCB เศรษฐกิจแสนล้าน” 

เพื่อนำเสนอทิศทางให้ไทยไปสู่อนาคต ผ่านปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในด้านอุตสาหกรรมและการลงทุน ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board: PCB) ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ ที่น่าสนใจ รวมไปถึงการเติบโตของ Generative AI ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของ Data Center และอุปกรณ์ AI Compatible อีกหลากหลายรูปแบบ

 

เสวนาช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “ปลุกไทย ฝ่าวิกฤต ปั้น PCB เศรษฐกิจแสนล้าน” โดย นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร, นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผศ.ดร.เลิศศักดิ์ เลขวัต รักษาการผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

ในตอนหนึ่ง นายนฤตม์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ตนขอเรียนว่าอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board: PCB) มีกระแสร้อนแรงมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เวลาพูดถึงPCB แล้วคนยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร ซึ่งงานวันนี้จะมีบทบาทอย่างมากที่จะสื่อสารให้ประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบถึงความสำคัญและทิศทางของอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ที่มีความสำคัญอย่างมาก

“ตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วมาจนถึงปีนี้ เรียกว่า นาทีทอง ของการลงทุนในประเทศไทย จากกระแสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็น Geopolitics หรือ Climate change ทำให้ทิศทางการลงทุนโลกเปลี่ยน มุ่งมาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่โดดเด่นในการรองรับการลงทุน

 

การลงทุนตั้งแต่ปีที่แล้วมาจรถึงครึ่งปีของปีนี้ สูงที่สุดในรอบ 10 ปี อย่างตัวแรกครึ่งปีแรกปีนี้ข้อมูลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีการขอการส่งเสริม 1,412 โครงการ (+64%) เปอร์เซ็นต์ มูลค่า 458,359 ล้าน (+35%) ถือว่าสูงมาก เซคเตอร์ที่เป็นตัวนำ คือ อิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่ามากกว่า 139,725 ล้านบาท” นายนฤตม์ชี้

 

นายนฤตม์กล่าวว่า วันนี้ อุตสาหกรรมกลายมาเป็นยุทธศาสตร์ของโลก ทุกประเทศต่างต้องการแย่งชิง semiconductor และ advance electronic ให้มาลงทุนในประเทศตัวเอง เพื่อให้ Supply chain แข็งแกร่งมากขึ้น และพร้อมต่อยอดสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้

“เราเองเป็นแหล่งลงทุนที่โดดเด่นด้านอิเล็กทรอนิกส์ จะเห็นว่าการลงทุนที่เข้ามาเยอะตั้งแต่ปีที่แล้วมาจนถึงปีนี้ การลงทุนอิเล็กทรอนิกส์สูงเป็นอันดับ1 เมื่อซูมอินเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะเห็นการลงทุน PBC เข้ามาสูงมาก

จากปีที่แล้วปีเดียวมีการลงทุน PCB เข้ามากว่า 1 แสนล้านบาท แล้วครึ่งปีของปีนี้เข้ามาเกือบ 4 หมื่นล้าน ถ้านับตัวเลขถึงเดือนสิงหาคมมากกว่า 5 หมื่นล้านในปีนี้ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2561 มาถึง 2567 มีการลงทุน PCB เข้ามาแล้ว 2 แสนล้านบาท แต่ลำพังแค่ปีที่แล้วถึงปีนี้ก็มีเงินลงทุนเข้ามาแล้ว 1.5 แสนล้านบาท” นายนฤตม์ชี้

 

นายนฤตม์กล่าวว่า ถ้าดูจำนวนโครงการปีที่แล้ว 40 กว่าโครงการ ปีนี้ 30 กว่าโครงการ ทั้ง PCB และ Supply chain ของ PCB ซึ่งโครงการเหล่านี้สอดคล้องกับธีมงาน คือ เศรษฐกิจแสนล้าน เพราะจากการลงทุนจะเห็นว่า มีการลงทุนเข้ามากว่า 2 แสนล้านบาทตลอด 7 ปีที่ผ่านมา โดยหากเปิดเต็มทุกโครงการแล้ว จะมีการจ้างงานมากกว่า 2 หมื่นคน และอาจจะถึง 1 แสนคน ตัวเลขเท่าที่เราประเมินมา

รวมถึง จะมีการได้ใช้วัตถุดิบจากในประเทศมากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และจะมีการส่งออกจากโครงการเหล่านี้เพิ่มขึ้นถึง 7 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งตัวเลขทั้งหมดทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิต PCB อันดับ 1 ในอาเซียน และจะเป็นท็อป 5 โลก

“ผู้ผลิต PCB เบอร์ต้นๆจะมีจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย จะขึ้นไปอยู่บนแมพของโลกร่วมกับผู้ผลิตชั้นนำ ทั้งหมดนี้ก็คือการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งข้อมูลแผนที่จากผู้ผลิต PCB ในประเทศไทย อยู่ที่จังหวัดอยุธยา ปทุมธานี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นับว่าเป็น 5 จังหวัดหลักในการผลิต PCB และมีบางส่วนที่อยู่ในฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ฉะนั้น จะเห็นว่ากลุ่มผลิต PCB มีการกระจายตัวในการลงทุน ที่จะไปสร้างความเจริญให้กับภูมิภาคต่างๆในประเทศไทย และจะมีการจ้างงาน หรือ ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ด้วย” นายนฤตม์กล่าว

นายนฤตม์กล่าวอีกว่า การที่ผู้ผลิต PCB ตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพราะดีมานด์ของ PCB และอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นมาก จากที่เห็นทุกอุปกรณ์ล้วนมีชิป และ PCB อยู่ข้างใน ตั้งแต่ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์โทรคมนาคม โดยมีดีมานด์เติบโตขึ้นสูงมาก ขณะที่เราเองมีความพร้อม

บวกกับกระแสตอนนี้โลกกำลังมองหา New balancing เนื่องจากบรรดาผู้นำโลกกำลังมาหาแหล่งลงทุนใหม่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง และมีความพร้อมในเรื่องปัจจัยพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน supply chain บุคคลากร การซับพอร์ตจากภาครัฐ ฉะนั้นทั้งหมดนี้จึงทำให้ไทยเป็นแหล่งดึงดูดที่สำคัญ

 

นายนฤตม์กล่าวว่า PCB คือ หัวใจสำคัญของอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำได้ เรากำลังมีต้นน้ำสำคัญเกิดในประเทศไทยอย่าง เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือ การประกอบ IC ขั้นสูง (IC design) ต่อเนื่องไปจนถึงปลายน้ำ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ IA ทั้งหลาย เราจะเห็น Supply chain ทั้งหมดที่มีความแข็งแกร่ง ที่มี PCB มาตั้งฐานในประเทศไทย

เมื่อความต้องการลงทุนมากแต่คนยังไม่เพียงพอ จะมีวิธีการพัฒนาคนและดึงคนเก่งเข้ามาอย่างไร?

นายนฤตม์ กล่าวว่า เราให้ความสำคัญมากเรื่องคน ซึ่ง BOI ทำงานร่วมกันกับทางกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสมาคม PCB เราใช้ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “build & Buy” คือ สร้างทั้งคนไทย และ นำเข้าคนที่มีความสามารถเข้ามาด้วย

“ในขาของบิลด์ เราช่วยตั้งแต่การหาคน โดยเมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว เราจับมือกับ อว. และทางเอกชน ดึงเอาบริษัทนักลงทุน จัดงาน Job matching โดยมี 7 บริษัทจากจีนและไต้หวัน ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการหาทั้ง Engineer technician เนื่องจากเพิ่งเปิดโรงงาน

เราก็เลยจัดงาน Job matching ให้ คัดเอานักศึกษามหาลัยต่างๆ มาป้อนเข้าอุตสาหกรรม PCB มากขึ้น และจูงใจให้บริษัทต่างๆมีส่วนร่วมอัพสกิลด้วยตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการทวิภาคี สหกิจศึกษา เช่น การส่งบุคลากรไทยไปเทรนที่จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น ไปเรียนรู้PCBในเวลาอันสั้นและกลับมาทำงานที่ประเทศไทย” นายนฤตม์เผย

 

นายนฤตม์กล่าวว่า อีกส่วนหนึ่งที่เราทำ คือ การดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาช่วยเรา เพราะเราทราบว่า หลายสาขาเราสร้างคนไม่ทันในระยะเวลาสั้นอย่าง PCB, Semiconductor และ CI ดิจิทัลขึ้นสูง เราจึงมีมีโครงการ “Longt-erm resident visa” ในการดึงเอาบุคลากรทักษะสูงให้เข้ามาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยเราให้วีซ่ายาว 10 ปี ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ เราใช้ทุกวิถีทางให้มีคนที่มีบุคลากรทักษะสูงด้าน PCB มีมากพอสมควรในระยะสั้น

“อีกเรื่องที่เราทำร่วมกับ อว. คือ Sandbox ทั้ง Up-skill และ Re-Skill เพราะเราทราบว่า ไปสร้างยุคคลากรจากระบบการศึกษาปกติอาจจะไม่ทัน โดยเอาบุคลากรที่มีในอุตสาหกรรมอยู่แล้วมาอัพเกรด เพื่อเข้าสู่ PCB ด้วยอย่าง คนในวงการชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล บางส่วนที่มีความพร้อมจะมาทำงานที่ PCB ในระยะเวลาอันสั้นอีกด้วย” นายนฤตม์กล่าว

เมื่อมีแนวทางสำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรม PCB ได้อย่างไรบ้าง?

นายนฤตม์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญสำหรับการส่งเสริม PCB มีอยู่ 3-4 เรื่อง คือ เรื่องการซับพอร์ตจากรัฐ เนื่องจาก BOI มีเครื่องมือในการซับพอร์ตการลงทุนทั้งกลุ่ม PCB มีสิทธิประโยชน์ 3 ประเภทหลัก คือ ภาษีเงินได้ การยกเว้นภาษีอากรนำเข้าวัตถุดิบ ไปจนถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘Non-tax’ ให้เข้ามาครอบครองที่ดินและประกอบกิจการได้ และมี Financial Incentives บางส่วนด้วย

“นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ เรายังมีบทบาทที่จะช่วยในการอำนวยความสะดวก ช่วยเชื่อมโยงกับ Supply chain อีกหลายประเภท ซึ่งเราส่งเสริมสิทธิประโยชน์ครอบคลุมหัวใจของ PCB ทำให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคตมี 3 เรื่อง ได้แก่ คน, supply chain และ พลังงานสะอาด

คนเราพูดไปแล้วว่าจะทำอย่างไรให้คนทำงานอย่างยั่งยืนในประเทศไทยได้ ส่วนเรื่อง supply chain เราส่งเสริมไม่ใช่แค่ผลิตตัว PCB แต่มีการเปิดส่งเสริม Supporting activities ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเข้ามาซับพอร์ต ทั้ง lamination, Drilling, Plating และ Routing แม้กระทั่งการผลิตรถไฟฟ้าก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเราส่งเสริมทั้งไทยและต่างชาติที่เข้ามาอยู่ใน supply chain”

“เรายังจับเอาผู้ผลิต PCB จากจีนและผู้ผลิตรายย่อยของไทยได้มาเจอกัน แล้วมาร่วมทุน ว่าจ้างผลิต และซื้อขายชิ้นส่วนกัน มีงานใหญ่คือ ‘subcon thailand’ และเมื่อเดือนกรกฏาเราจับมือกับผู้ผลิต PCB ประเทศไทย กับ ฮ่องกง จัดงานที่เรียกว่า งาน Thailand Electronics Circuit Asia หรือ THECA เพื่อประกาศตัวว่าเราเป็นผู้นำด้าน PCB ในอาเซียน และยังเป็นเวทีที่ส่งเสริมให้เกิดการซื้อ-ขายชิ้นส่วนในประเทศมากขึ้น โดยงานนี้จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

 

นอกจากนี้ เราได้จับมือกับบริษัทต่างๆ เราถามบริษัทว่าต้องการ sourcing ชิ้นส่วนใด หรือ วัตถุดิบใดในประเทศบ้าง แล้ว BOI กับจับมือกับทางสมาคมช่วยคัดสรรเอา Supplier บริษัทชั้นนำอิเล็กทรอนิกส์มา Matching กัน ทำให้ supply chain ในประเทศแข็งแกร่ง และได้รับประโยชน์” นายนฤตม์เผย

นายนฤตม์กล่าวว่า นอกจากนี้ เรายังตระหนักถึงเรื่องพลังงานสะอาด คือ น้ำ ซึ่งวันนี้เราต้องยอมรับว่าบริษัทชั้นนำมีเป้าหมายในเรื่องของการลดคาร์บอน มีเป้าหมายในการใช้พลังงานหมุนเวียนในกิจการทั้งนั้น ฉะนั้นดารจัดหากลไกในพลังงานสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ

“ตอนนี้กระทรวงพลังงาน กำลังทำเรื่อง Utility Green Tariff (UGT) อัตราค่าไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และ Direct PPA มาเสริม เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจว่าจะมีพลังงานสะอาดมากเพียงพอในภาคอุตสาหกรรม

อีกส่วน คือ น้ำ เพราะอุตสาหกรรม PCB ใช้น้ำมากกว่าธุรกิจปกติหลาย 10 เท่า ทั้งขาเข้า-ขาออก จึงเป็นเรื่องที่เราต้องเตรียมความพร้อมในอุตหสากรรม ทั้งการรีไซเคิลน้ำ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นทั้งเรื่องคน, ซัพพลายเออร์, supply chain, น้ำ และพลังงานสะอาด ก็เป็นเรื่องสำคัญของการผลักดัน PCB ต่อไปในอนาคต” นายนฤตม์กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลจาก : https://www.matichon.co.th/economy/news_4795528

 

#PCB #SupplyChain #ThailandTechHub #PCBInnovation #TopPCBThailand

 

ข่าว PCB อื่นๆ